ลักษณะภูมิศาสตร์ภาคตะวันตก
สาระสำคัญ
ภาคตะวันตกมีจำนวนจังหวัดและประชากรน้อยที่สุดของประเทศไทย
แต่เป็นแหล่งเกษตรกรรมแบบครบวงจรและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีศักยภาพมาก
เพราะมีท่าเรือขนส่งพาณิชย์ที่อำเภอชะอำเชื่อมต่อกับท่าเรือสัตหีบ และมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
เช่น สะพานข้ามแม่น้ำแคว สุสานทหารสัมพันธมิตร พระรามราชนิเวศน์
และอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เป็นต้น
1. ลักษณะทางกายภาพของภาคตะวันตก
ภาคตะวันตกของประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 53,679 ตารางกิโลเมตร
ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี
เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์
ที่ตั้งและขอบเขตของภาคตะวันตก
ทิศเหนือ มีดินแดนเหนือสุดของภาคอยู่ที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก มีดินแดนติดต่อกับสุพรรณบุรี อุทัยธานี กำแพงเพชร สุโขทัย นครสวรรค์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม อ่าวไทย ดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคคืออำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีทิศตะวันตก มีดินแดนติดกับประเทศพม่า มีเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีเป็นพรมแดนธรรมชาติทิศใต้ ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาคอยู่ที่อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ทิศเหนือ มีดินแดนเหนือสุดของภาคอยู่ที่อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก มีดินแดนติดต่อกับสุพรรณบุรี อุทัยธานี กำแพงเพชร สุโขทัย นครสวรรค์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม อ่าวไทย ดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกสุดของภาคคืออำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีทิศตะวันตก มีดินแดนติดกับประเทศพม่า มีเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีเป็นพรมแดนธรรมชาติทิศใต้ ดินแดนที่อยู่ใต้สุดของภาคอยู่ที่อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
2.1 เขตเทือกเขา ได้แก่
- เทือกเขาถนนธงชัย เป็นแนวแบ่งเขตระหว่างไทยกับพม่า
จากจังหวัดแม่ฮ่องสอนถึงตาก
- เทือกเขาตะนาวศรี เป็นแนวแบ่งเขตไทยกับพม่า
มีช่องทางติดต่อที่ด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และด่านบ้องตี้ จังหวัดกาญจนบุรี
- เทือกเขาหินปูน
อยู่ระหว่างแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน
มีถ้ำหินงอกหินย้อย
2. 2 เขตที่ราบ
อยู่ระหว่างเขตเทือกเขากับที่ราบต่ำภาคกลางจนถึงอ่าวไทย เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ
ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง แม่น้ำแม่กลอง ที่ราบแม่น้ำเพชรบุรี
และที่ราบชายฝั่งทะเลที่เป็นหาดทรายสวยงาม เช่น หาดชะอำ หาดหังหินและอ่าวมะนาว
แม่น้ำที่สำคัญของภาคตะวันตก
- แม่น้ำแม่กลอง
เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำแควใหญ่กับแควน้อย ต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี
ไหลลงทะเลที่จังหวัดสมุทรสงคราม- แม่น้ำแควใหญ่ หรือแม่น้ำศรีสวัสดิ์
มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควน้อย- แม่น้ำแควน้อย หรือแม่น้ำไทรโยค
มีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไหลไปรวมกับแม่น้ำแควใหญ่- แม่น้ำเมย เป็นพรมแดนกั้นเขตแดนไทย-พม่า
ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศพม่า ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน ที่แม่ฮ่องสอน- แม่น้ำเพชรบุรี
เกิดจากเทือกเขาตะนาวศรีไหลผ่านจังหวัดเพชรบุรี- แม่น้ำปราณบุรี
ต้นน้ำเกิดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
3.ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันตก
ภาคตะวันตกมีอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) คือมีอากาศร้อนชื้นสลับกับฤดูแล้ง
มีฝนตกน้อยกว่าภาคอื่น เนื่องจากมีภูเขาสูงกั้นจึงเป็นพื้นที่อับฝน
และอุณหภูมิในฤดูร้อนจะร้อนจัด ถ้าฤดูหนาวจะหนาวจัด กลางวันอุณหภูมิสูงและกลางคืนอุณหภูมิจะต่ำมาก
ทำให้เกิดความแตกต่างกันมากเนื่องจากอยู่ในหุบเขา จังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุดคือ
จังหวัดตาก และจังหวัดที่มีฝนตกมากที่สุดคือ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิภาคตะวันตก
1. ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกและอากาศหนาวเย็น
2. การวางตัวของเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีในแนวเหนือ-ใต้ ทำให้มีอิทธิพลต่อสภาพอากาศของภาคตะวันตก คือ อากาศร้อนอบอ้าว และจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรีเป็นเขตที่อับลมฝน
3. ได้รับอิทธิพลจากลมพายุดีเปรสชันทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกหนักและน้ำท่วมในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี
4. ลมพายุดีเปรสชันจากอ่าวเบงกอล ที่พัดผ่านเข้าสู่ประเทศพม่าและภาคตะวันตกของไทย เมื่อปะทะกับแนวเทือกเขาแต่ไม่มีบ่อยครั้ง
1. ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกและอากาศหนาวเย็น
2. การวางตัวของเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีในแนวเหนือ-ใต้ ทำให้มีอิทธิพลต่อสภาพอากาศของภาคตะวันตก คือ อากาศร้อนอบอ้าว และจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรีเป็นเขตที่อับลมฝน
3. ได้รับอิทธิพลจากลมพายุดีเปรสชันทะเลจีนใต้ ทำให้ฝนตกหนักและน้ำท่วมในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี
4. ลมพายุดีเปรสชันจากอ่าวเบงกอล ที่พัดผ่านเข้าสู่ประเทศพม่าและภาคตะวันตกของไทย เมื่อปะทะกับแนวเทือกเขาแต่ไม่มีบ่อยครั้ง
4.ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันตก
4.1 ทรัพยากรดิน
ภาคตะวันตกพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตภูเขาสูงและมีความลาดชัน ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำไม่เหมาะในการเพาะปลูก หรือมีสภาพเป็นดินทราย หรือดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินที่เป็นกรด
ภาคตะวันตกพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขตภูเขาสูงและมีความลาดชัน ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำไม่เหมาะในการเพาะปลูก หรือมีสภาพเป็นดินทราย หรือดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินที่เป็นกรด
4.2 ทรัพยากรน้ำ ภาคตะวันตกมีน้ำน้อย
เพราะอยู่ในเขตอับฝน แม่น้ำเป็นสายสั้น ๆ และมีเขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ เช่น
เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก , เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี , เขื่อนปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ , เขื่อนศรีนครินทร์
จังหวัดกาญจนบุรี , เขื่อนเขาแหลม
จังหวัดกาญจนบุรี , เขื่อนวชิราลงกรณ์
จังหวัดกาญจนบุรี
4.3 ทรัพยากรป่าไม้
ภาคตะวันตกมีพื้นที่ป่าไม้มากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคเหนือ พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณ จังหวัดที่มีป่าไม้มากที่สุดคือ กาญจนบุรีและตาก
ภาคตะวันตกมีพื้นที่ป่าไม้มากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคเหนือ พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบ และป่าเบญจพรรณ จังหวัดที่มีป่าไม้มากที่สุดคือ กาญจนบุรีและตาก
4.4 ทรัพยากรแร่ธาตุ ภาคตะวันตกมีแร่ธาตุหลายชนิด
ที่สำคัญได้แก่ ดีบุก ทังสเตน เหล็ก ฟลูออไรด์ ฟอสเฟต หินอ่อน แร่รัตนชาติมีพลอย
ไพลินที่กาญจนบุรี หินน้ำมัน อยู่บริเวณอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
5.ลักษณะทางวัฒนธรรม
: ประชากรในภาคตะวันตก
ภาคตะวันตกเป็นภาคที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด และเบาบางที่สุด
มีชนกลุ่มน้อยพวกมอญ กะเหรี่ยง พม่าอาศัยอยู่ทุกพื้นที่เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่า
จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุด และมีความหนาแน่นมากที่สุดคือ ราชบุรี
ส่วนจังหวัดที่มีประชากรต่ำที่สุดและมีความหนาแน่นเบาบางที่สุดคือ จังหวัดตาก
ปัญหาประชากรในภาคตะวันตก
1. ปัญหาเกี่ยวกับความยากจนของประชาชน
2. ปัญหาเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยขาดแคลนที่อยู่อาศัยและขาดพื้นที่การเพาะปลูก
1. ปัญหาเกี่ยวกับความยากจนของประชาชน
2. ปัญหาเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยขาดแคลนที่อยู่อาศัยและขาดพื้นที่การเพาะปลูก
6.กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
- การเพาะปลูก การปลูกพืชไร่ ได้แก่ อ้อย สับปะรด
มันสำปะหลัง ปลูกมากที่จังหวัดกาญจนบุรี- การเลี้ยงสัตว์
เป็นการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นการค้าและอาหาร- การทำป่าไม้ เคยมีป่าไม้มาก
ปัจจุบันทำการค้าโดยสั่งซื้อจากประเทศพม่า- การประมง มีการทำประมงน้ำเค็มและน้ำกร่อย- การทำเหมืองแร่ ได้แก่ แร่ดีบุก วุลแฟรม ทังสเตน- อุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง
ผลิตน้ำตาล การปั้นโอ่งที่ราชบุรี และการท่องเที่ยว
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม1. ปัญหาการพังทลายของดิน และดินเสื่อมคุณภาพ2. ปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง
และน้ำเน่าเสียในแม่น้ำแม่กลอง3. ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า
เพื่อทำการค้า และธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น